|
ราคาสินค้า
สินค้าบริโภค
ประเภทสินค้า ตราสินค้า ราคา
1. มาม่า (แบบซอง) ยำยำ,ไวไว,ไวไวควิก,มาม่า 6
มาม่า (แบบคัพ) ยำยำ,ไวไว,ไวไวควิก,มาม่า 12
2. ผักกาดดอง ตรานกพิราบ 14
3. ปลากระป๋อง ปุ้มปุ้ย,ซูเปอร์เซฟ,ปลายิ้ม,สามแม่ครัว,
Hi-Q 13-20
4. ขนมขบเคี้ยว หลากหลายยี่ห้อ 5-25
5. อาหารเสริมตอนเช้า เนสเล่ห์,กาแฟ,โอวัลติน,ไมโล 5-7
6. หมากฝรั่ง คลอเร็ท,ชิเคล็ท สติ๊ก,ลอตเต้ 5-10
7. ลูกอม ฮอลล์,สเต็ปซิล,โบตัน,ฮาร์ทบีท,ครีโก้,ซูกัส,เมนทอส
1-10
8. น้ำอัดลม (แบบกระป๋อง) สไปรท์,แฟนต้า,โค้ก,เป๊ปซี่
13
น้ำอัดลม (แบบขวดลิตร) สไปรท์,แฟนต้า,โค้ก,เป๊ปซี่ 25
9. น้ำเปล่า เนสเล่ห์ เพียวไลท์ 6-12
10. นม ไวตามิลค์,ดีน่า,นมตราหมี,บีทาเก้น,แลคตาซอยหนองโพ,ไทยเดนมาร์ค,โอวัลติน,ไมโล,โฟร์โมสต์,ดัชมิลล์
11-13
11. เครื่องดื่มชูกำลัง ลิโพ,เอ็ม 150,กระทิงแดง,คาราบาวแดง,สปอนเซอร์
10-12
12. เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ แบรนด์,วีต้าพรุน 32
13. ไอศครีม วอลล์ 5-69
14. โจ๊ก คนอร์ 15
15.ยารักษาโรค พาราเวตามอล,ซาร่า,ทิฟฟี่,ไทลินอล,ทัมใจ,ยาแก้ท้องเสีย
Disento,ยาแก้ไอน้ำดำตราเสือดาว,ยาธาตุน้ำขาว 1-15
16. ขนมปัง ไม่มีชื่อตราสินค้า 10-20
17. เครื่องดื่มอื่นๆ เพียวริคุ,กาแฟเบอดี้,ทรอปิคาน่า,เนสกาแฟ,โออิชิ,ยูนิฟ,กรีนสปอร์ต
10-20
18. เหล้า แสงโสม,หงส์ทอง,รีเจนซี่,สุรา 40 ดีกรี 90-215
19. เบียร์ (แบบขวด) ลีโอ,ช้าง,อาชา,สิงห์ 30-50
เบียร์ (แบบกระป๋อง) ลีโอ,ช้าง,อาชา,สิงห์ 20-30
20. บุหรี่ กรองทิพย์,สายฝน,LM 48-62
สินค้าอุปโภค
ประเภทสินค้า ตราสินค้า ราคา
1. สบู่ เดทตอล,โพรเทคส์,ลักส์,แคร์,เบบี้มายด์ 8-15
2. ยาสีฟัน ใกล้ชิด,คอลเกต,สมุนไพรตราดอกบัวคู่,ดาร์ลี่
10-40
3. แป้ง (ขวดเล็ก) แคร์,พอนด์ส,จอห์นสัน,แป้งเย็นตรางู,โพรเทคส์
10-12
4. ยาสระผม ซันซิล,โดฟ,คลินิค,แพนทีน,รีจอยส์ 20-30
5. ครีมนวดผม ซันซิล,โดฟ,คลินิค,แพนทีน,รีจอยส์ 20-30
6. โฟมล้างหน้า โดฟ,clean&clear,EXIT,BLOVE,SCACARE
CARE FOR MEN 10-54
7. กระดาษทิชชู่ (แบบม้วน) Dian,เจนเทิล 7-8
กระดาษทิชชู่ (แบบกล่อง) เลดี้สก๊อตต์,เซลล็อกส์ 18-36
8. ผงซักฟอก เปา,บรีส,แอทแทค,โอร์ม,แฟ้บ,เอสเซ้นส์ 7-20
9. ผ้าอนามัย โซฟี,ลอรีเอะ,โมเดส 10-19
10. น้ำยาล้างจาน ซันไลต์,ไลปอน เอฟ 12
11. น้ำยาถูพื้น มาจิคลีน 42
12. น้ำยาล้างห้องน้ำ เป็ด (สีม่วง,สีชมพู) 25
13. น้ำยาปรับผ้านุ่ม เอสเซ้นส์,พัฟ,คอมฟอร์ท,ไฟน์ไลน์
20
14. ยาใช้ภายนอก เบตาดีน,เพ็นโซพล๊าส 1-25
15. ครีมทาหน้า (แบบซอง) โอเลย์,พอนด์ส,นีเวีย 10
16. แปรงสีฟัน โอรัล-บี,คอลเกต,ใกล้ชิด 18-24
Inbound Logistic
การจัดการโลจิสติกส์ หมายถึง กระบวนการจัดการ การเคลื่อนย้าย
และจัดเก็บวัตถุดิบ และสินค้า จากผู้ขายวัตถุดิบ ไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย
(The Chartered Institude of Logistics and Transport)
ซึ่งมีองค์ประกอบด้านโลจิสติกส์ โลจิสติกส์มีหลายกิจกรรม
คือ การพยากรณ์ การวางแผนการผลิต การจัดซื้อ บรรจุภัณฑ์
การเคลื่อนย้ายภายในองค์การ การผลิต คลังสินค้า การขนส่ง
การกระจายสินค้า การบริการลูกค้า เป็นต้น ทุกกิจกรรมในโลจิสติกส์ต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง
และเกี่ยวข้องกันแบบเป็นกระบวนการ การวัดผลงานการดำเนินงานในกระบวรการของบริษัททั้งหมด
หรือทั้งซัพพลายเชน จะเห็นภาพขององค์การมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องมากกว่า
การทำงานของแต่ละฝ่าย และมีการแบ่งของเขตของโลจิสติกส์
เป็น กลุ่มกิจกรรมหลัก ดังต่อไปนี้
1. การจัดการวัสดุ (Material Management) หรือ โลจิสติกส์ขาเข้า
(Inbound Logistic) หรือ โลจิสติกส์เพื่อการผลิต (Manufacturing
Logistics) จะสนับสนุนในการผลิตเป็นหลัก มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องคือ
เป็นอุปสงค์ของพื้นที่จัดเก็บและการเคลื่อนย้ายของวัตถุดิบ
สินค้า ชิ้นส่วน บรรจุภัณฑ์ ที่ต้องจัดซื้อ จัดหา เพื่อการผลิต
รวมถึงต้นทุนและบริการ เพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มในกิจกรรมทางเลือกที่ดีที่สุด
งานที่เกี่ยวข้องกับโลจิสตกิส์ขาเข้า มีดังนี้
1. การพยากรณ์ความต้องการวัสดุ
2. การจัดซื้อวัสดุ
3. การวางแผนความต้องการพัสดุ
4. การวางแผนการผลิต
5. การจัดการพัสดุการผลิต
6. การเคลื่อนย้ายพัสดุ
7. การคลังพัสดุ
8. การบรรจุภัณฑ์พัสดุ
ระบบการสั่งซื้อ (Order Processing System)
ร้านมินิมาร์ท zoom place เป็นร้านสะดวกซื้อจำหน่ายสินค้าอุปโภค-บริโภค
โดยสายผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในร้านนั้นจะมีหลายสายผลิตภัณฑ์
โดยส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ตราสินค้าที่มีชื่อเสียงและตรงกับความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก
ในการซื้อสินค้าจึงทำการซื้อสินค้าต่อครั้ง ให้เพียงพอต่อการจำหน่ายในรอบๆหนึ่งเท่านั้น
เพื่อไม่ให้เสี่ยงกับการที่สินค้าหมดอายุหรือสินค้าล้าสมัยโดยการจัดซื้อสินค้าของร้าน
จะมีวิธีการจัดซื้อหลายแบบดังนี้
- สินค้าที่ผู้จัดจำหน่ายนำมาจำหน่ายให้โดยตรง ได้แก่
1. น้ำเปล่า
ระยะเวลาในการส่ง อาทิตย์ละ 1 ครั้ง
2. นม
ระยะเวลาในการส่งอาทิตย์ละ 1 ครั้ง
3. น้ำอัดลม
ระยะเวลาในการส่ง อาทิตย์ละ 1 ครั้ง
4. ไอติมวอลล์
ระยะเวลาในการส่ง 2 อาทิตย์ต่อ 1 ครั้ง
5. ขนมขบเคี้ยวยี่ห้อเลย์ ฮานามิ คาราด้า สแน็คแจ็ค
ระยะเวลาในการส่ง เลย์ อาทิตย์ละ 1 ครั้ง
คาราด้า เดือนละ 1 ครั้ง
ฮานามิ เดือนละ 1 ครั้ง
สแน็คแจ็ค เดือนละ 1 ครั้ง
- สินค้าที่เจ้าของกิจการไปซื้อสินค้าด้วยตนเอง (โดยซื้อ
จากแม็คโคร สาขาสามเสน และ สาขารังสิต)
1. ขนมขบเคี้ยวต่างๆ 2. มาม่า 3. ผ้าอนามัย 4. อาหารกระป๋อง
5. แปรงสีฟัน-ยาสีฟัน 6. ผงซักฟอก 7. น้ำยาปรับผ้านุ่ม
8. น้ำยาล้างจาน 9. น้ำยาล้างห้องน้ำ 10. น้ำยารีดผ้าเรียบ
11.อุปกรณ์เครื่องเขียนต่างๆ 12. ไม้แขวนเสื้อ 13. แปรงขัดห้องน้ำ
14. สำลี 15. กระจก 16. เข็ม-ด้าย 17. กระดาษทิชชู่ 18.
แป้ง 19. จาน ชาม ช้อน-ส้อม ตะเกียบ 20. แก้ว 21. ครีมบำรุงผิว
22. น้ำตาล น้ำปลา เกลือ น้ำตาล ซีอิ๊ว เครื่องปรุงรสต่างๆ
23. กาแฟ โอวัลติน
โดยระยะเวลาที่ซื้อสินค้าเข้าร้านแต่ละครั้งคือ อาทิตย์ละ
1 ครั้ง
- สินค้าที่เจ้าของร้านโทรสั่งจากร้านค้าส่ง (ร้าน P.K.
สโตร์)
1. เหล้า-เบียร์
2. บุหรี่
3. โซดา-น้ำแข็ง
4. เครื่องดื่มต่างๆ
โดยระยะเวลาในการสั่งซื้อสินค้า คือ จะสั่งซื้อเฉพาะเวลาที่สินค้าหมด
เท่านั้น
- สินค้าที่พ่อค้าในชุมชนนำมาฝากขาย
1. ขนมปัง ระยะเวลาที่นำมาฝากขาย คือ นำมาฝากขายวันต่อวันสำหรับสินค้าที่เน่าเสียง่าย
แต่ถ้าสินค้าตัวใดที่เน่าเสียยาก เช่น ขนมปังกรอบ แซนด์วิส
จะนำมาฝากขายอาทิตย์ละ 1 ครั้ง
2. เม็ดบ๊วยต่างๆ ระยะเวลาที่นำมาฝากขาย คือ อาทิตย์ละ
1 ครั้ง
3. ข้าวเกรียบ ระยะเวลาที่นำมาฝากขาย คือ เดือนละ 1 ครั้ง
โดยพ่อค้าส่งจะนำสินค้ามาฝากขาย และจะแบ่งเปอร์เซ็นต์ที่ได้จากการขายให้กับเจ้าของกิจการ
ถ้าสินค้าตัวใดขายไม่ได้ก็จะนำกลับไป โดยที่เจ้าของกิจการไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ
ทั้งสิ้น
7.3 ระบบการรับสินค้า
ในระบบการรับสินค้าของทางร้าน ถ้าเป็นสินค้าที่ผู้จัดจำหน่าย
นำมาจำหน่ายให้โดยตรงหรือสินค้าที่พ่อค้าแม่ค้าในชุมชนนำมาฝากขาย
ทางร้านค้าไม่ต้องดำเนินการใดๆ ผู้จัดจำหน่ายจะนำสินค้ามาให้ทางร้านโดยตรง
เมื่อถึงรอบที่ต้องทำการซื้อสินค้าใหม่ แต่ในกรณีที่เป็นสินค้าที่ซื้อจากผู้ค้าส่ง
ทางร้านค้าจะเป็นผู้ตกลงเองว่าในแต่ละครั้งนั้นต้องการที่จะไปรับสินค้าด้วยตนเองไหมหรือต้องการให้ผู้ค้าส่งนำสินค้ามาส่งให้ร้านโดยตรง
แล้วแต่ความสะดวกของทางร้าน โดยเมื่อมีการนำสินค้ามาส่ง
ทางร้านค้าจะทำการตรวจนับสินค้า ว่าจำนวนตรงกับที่ได้สั่งไปหรือไม่
มีสินค้าใดชำรุด หรือได้รับความเสียหายบ้าง การตรวจสอบสินค้าจำเป็นอย่างยิ่ง
เพื่อประโยชน์ของทางร้านค้าเอง เมื่อตรวจสอบสินค้าเรียบร้อยแล้วก็จะบันทึกรายการสินค้าลงบิลและเซ็นต์ชื่อรับสินค้า
จากนั้นจึงทำการชำระเงิน
7.4 ระบบสินค้าคงคลัง (Inventory System)
เนื่องจากสินค้าจะมีการรับสินค้ามาจากผู้จัดจำหน่าย และผู้ค้าส่ง
ซึ่งผู้จัดจำหน่ายจะนำสินค้ามาส่งเป็นงวดๆรวมถึงการไปซื้อสินค้าด้วยตนเอง
ทางร้านจึงต้องมีการควบคุมปริมาณสินค้าคลังให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า
รวมถึงเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากสินค้าขาดมือ
ซึ่งทำให้ไม่มีสินค้าไว้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า อาจทำให้ลูกค้าเปลี่ยนใจไปซื้อสินค้าจากร้านอื่นแทนได้
โดยจะมีการเก็บสินค้าอย่างเป็นระเบียบ มีการแบ่งสินค้าออกเป็นหมวดหมู่
เพื่อให้สะดวกในการนำออกมาใช้งานของทางร้านค้า เมื่อตอนรับสินค้ามาก็มีการตรวจนับสินค้าว่ารับมาจำนวนเท่าไร
และในแต่ละอาทิตย์จะทำการตรวจนับสินค้าที่วางอยู่บนชั้นว่ามีสินค้าใดขาดบ้าง
และนำไปเช็คกับยอดสินค้าในสต็อก ถ้าสินค้าใดหมดก็ทำการสั่งซื้อไปยังผู้ค้าส่งหรือผู้จัดจำหน่าย
หรือออกไปซื้อสินค้าด้วยตนเอง การตรวจนับสินค้าในสต็อกและสินค้าบนชั้นวาง
จะให้ผลดีในแง่ของการตรวจสอบได้ว่าสินค้าใดขายดี สินค้าใดขายไม่ดี
เพื่อสะดวกในการคำนวณปริมาณสินค้าแต่ละชนิดที่เก็บไว้ในคลังสินค้า
รายการสินค้าคงคลัง
สินค้าบริโภค
รายการสินค้า ต้นทุน(บาท) ราคา (บาท) ประมาณสินค้า
คงคลัง/เดือน หน่วย
1. มาม่า (แบบซอง) 4 6 40 โหล
มาม่า (แบบคัพ) 9 12 18 โหล
2. ผักกาดดอง 10 14 2 โหล
3. ปลากระป๋อง 9-16 13-20 2 โหล
4. ขนมขบเคี้ยว 3.50-18 5-25 55 โหล
5. อาหารเสริมตอนเช้า 3-5 5-7 6 โหล
6. หมากฝรั่ง 2-7 5-10 12 โหล
7. ลูกอม 0.50-6 1-10 15 โหล
8. น้ำอัดลม (แบบกระป๋อง) 10 13 15 โหล
น้ำอัดลม (แบบขวดลิตร) 19 25 9 โหล
9. น้ำเปล่า 4-9 6-12 20 โหล
10. นม 9-10 11-13 18 โหล
11. เครื่องดื่มชูกำลัง 7-9 10-12 10 โหล
12. เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ 27 32 4 โหล
13. โจ๊ก 11 15 15 โหล
14. เครื่องดื่มอื่นๆ 8-17 10-20 25 โหล
15. เหล้า 75-198 90-215 5 โหล
16. เบียร์ (แบบขวด) 24-42 30-50 30 โหล
เบียร์ (แบบกระป๋อง) 17-25 20-30 18 โหล
17. บุหรี่ 42-56 48-62 20 โหล
สินค้าอุปโภค
รายการสินค้า ต้นทุน (บาท) ราคา (บาท) ปริมาณสินค้าคงคลัง/เดือน
หน่วย
1. สบู่ 5-12 8-15 12 โหล
2. ยาสีฟัน 7-32 10-40 12 โหล
3. แป้ง 7-9 10-12 12 โหล
4. ยาสระผม 15-25 20-30 10 โหล
5. ครีมนวดผม 15-25 20-30 10 โหล
6. โฟมล้างหน้า 8-47 10-54 7 โหล
7.กระดาษทิชชู่ (แบบม้วน) 3-5 7-8 20 โหล
กระดาษทิชชู่ (แบบกล่อง) 13-28 18-36 5 โหล
8. ผงซักฟอก (ซองเล็ก) 3-16 7-20 25 โหล
9.ผ้าอนามัย 7-14 10-19 15 โหล
10. น้ำยาล้างจาน (ขวดเล็ก) 9 12 5 โหล
11. น้ำยาถูพื้น 34 42 1 โหล
12. น้ำยาล้างห้องน้ำ 19 25 1 โหล
13.น้ำยาปรับผ้านุ่ม 14 20 15 โหล
14. ครีมทาหน้า (แบบซอง) 6 10 12 โหล
15. แปรงสีฟัน 11-17 18-24 5 โหล
ระบบการชำระหนี้
- สินค้าที่ผู้จัดจำหน่ายนำมาจำหน่ายให้โดยตรง
ไม่มีระบบการชำระหนี้ เนื่องจากทำการจ่ายเงินสดทุกครั้งที่ผู้จัดจำหน่ายนำสินค้ามาส่ง
- สินค้าที่เจ้าของร้านโทรสั่งจากร้านค้าส่ง
มีระบบการชำระเงินแบบ เมื่อนำสินค้ามาส่งใหม่ ทางร้านจะทำการชำระหนี้สำหรับสินค้าเก่าให้หมดไป
เหลือเฉพาะการชำระเงินของสินค้าใหม่ ซึ่งจะทำการชำระเมื่อมีการนำสินค้ามาส่งในครั้งต่อไป
- สินค้าที่พ่อค้าในชุมชนนำมาฝากขาย
ไม่มีระบบการชำระหนี้ เนื่องจากทำการจ่ายเงินสดทุกครั้งที่พ่อค้านำสินค้ามาส่ง
- สินค้าที่เจ้าของกิจการไปซื้อสินค้าด้วยตนเอง
ไม่มีระบบการชำระหนี้ เนื่องจากทำการจ่ายเงินสดทุกครั้งที่พ่อค้านำสินค้ามาส่ง
|
|